ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยมาโฟกัสที่ “หุ้นพลังงาน – ปิโตรเคมี “ กันแบบยกกลุ่ม ซึ่งสวนทางกับแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2565 เตรียมจะประกาศออกมาหลายบริษัทส่อแววขาดทุนจากราคาน้ำมัน ปรากฏรอบนี้กลับมีแรงเก็งกำไรทั้งสัปดาห์เข้ามาหนุนหุ้นทั้งกลุ่ม
ตามคาดการณ์ไตรมาส 3 ปี 2565 โบรกเกอร์มีมุมมองว่าส่วนใหญ่ หุ้นปิโตรเคมี เผชิญ “ขาดทุน ” จากราคาขายอ่อนแอ และ ราคาน้ำมัน และค่าการกลั่นปรับตัวลง ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ฟิลลิป (ประเทศไทย) มีผลกระทบจากกลุ่มโรงกลั่น – ต้นทุนน้ำ เจอ stock gain
หุ้นที่คาดว่าจะพลิกเป็นคาดทุนในไตรมาสนี้ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP พลิกขาดทุน 334 ล้านบาท กลุ่มอะโรเมติกส์ GIM เป็นบวกเพิ่มเป็น 0.3 – 0.4 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ธุรกิจโรงกลั่นการดำเนินงานลดลง จาก u-rate เหลือ 105% ลดจาก 112% ในไตรมาสก่อน ตามอุปสงค์อ่อนตัวลง
GRM ยังคงทรงตัว และยังได้รับผลจาก crude premium ปรับตัวขึ้น 3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 10.53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และคาดมีรายการพิเศษ ขาดทุน 5,363 ล้านบาท (จากราคาน้ำมันติดลบ 26 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ) มีขาดทุนสต็อกน้ำมันราว 9,469 ล้านบาท ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 1,576 ล้านบาท จากเงินบาทอ่อนค่า แต่มีกำไรจาก oil price hedging ประมาณ 5,682 ล้านบาท ทำให้พลิกขาดทุน 334 ล้านบาท
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC พลิกขาดทุนจากการดำเนินงานปกติอ่อนลง ทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ทั้งโรงกลั่นคาด GRM ( เหลือ 10$/bbl จาก 21$/bbl 2Q65 ) กลุ่มปิโตรฯ สาย อะโรเมติกส์ อ่อนตัวจากการคงมาตรการ Zero COVID ของจีนทำให้ปริมาณขาย และสเปรด PX, BZ
กลุ่มโอเลฟินส์ ยังได้รับผลจากอุปสงค์อ่อนแอ และกลุ่ม Performance ทั้งฟีนอลและ BPA ได้รับผลจากราคาขายที่ลดลง ตามด้วย Allnex ผลการดำเนินงานอ่อน และรับรู้ส่วนแบ่งจาก JV เหลือเพียง 420 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีรายการพิเศษรับรู้ขาดทุน 14,192 ล้านบาท (ขาดทุนสต็อก 5,687 จากราคาน้ำมันลดลง 23.97$/bbl, NRV -1,137, hedging -4,739 และขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 2,628 ล้านบาท) ทำให้มีขาดทุนสุทธิ 8,948 ล้านบาท
ขณะที่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) สเปรด(spread) ปิโตรเคมี (HDPE PP ABS) ปรับตัวลงต่อเนื่องเพราะอุปสงค์ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก, มาตรการ Zero-Covid ของจีน และอุปทานในภูมิภาคเพิ่มขึ้น การปรับตัวลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทำให้คาดว่าจะบันทึกขาดทุนสต็อกน้ำมัน 3.8 พันล้านบาท ขาดทุน ค่าเงินบาท 550 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามแนวโน้ม ผลประกอบการกลับสวนทางราคาหุ้น ในกลุ่มช่วงนี้ (รอบ 60 วัน)ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง นำโดยหุ้นต้นน้ำที่ประกาศงบแล้ว บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เพิ่มขึ้น 24.27% ซึ่งได้ทำสถิติราคาสูงสุด 194.50 บาท ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีถือว่ามีความผันผวนมากกว่า และราคามีการปรับตัวในช่วงนี้จากก่อนหน้านี้ (20 วัน ) PTTGC ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 10.78% IRPC 3.23% TOP 11.17% และ IVL 7.64%
ปัจจัยสำคัญเริ่มจากการเก็งประเด็น “ศึกเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐ” มีการลงคะแนน 8 พ.ย. นี้ เนื่องจากเป็นการเดิมพันครั้งใหญ่ระหว่าง “พรรคเดโมแครต” และ “พรรครีพับลิกัน” เพื่อจะชิงเก้าอี้ทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐจำนวน 435 ที่นั่ง รวมทั้งในวุฒิสภาจำนวน 35 ที่นั่ง จากทั้งหมด 100 ที่นั่ง นอกจากนี้ยังมีการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐใน 39 มลรัฐ รวมทั้งการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นอีกจำนวนมาก
หากพรรครีพับลิกันคว้าชัยชนะเหนือพรรคเดโมแครต ในการเลือกตั้งกลางเทอมครั้งนี้ คาดว่าจะทำให้การบริหารประเทศภายใต้ “ประธานาธิบดี โจ ไบเดน” จากพรรคเดโมแครต ในช่วงที่เหลืออีก 2 ปีเป็นไปอย่างยากลำบากจากการ พรรครีพับลิกันจะขัดขวางการผ่านกฎหมายต่างๆ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
ผลสำรวจเริ่มออกมาในโทนชาวอเมริกันจำนวนมากไม่พึงพอใจต่อการทำงานของ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ซึ่งทำให้มีการคาดการณ์ว่าพรรคเดโมแครตจะพ่ายแพ้พรรครีพับลิกันในการเลือกตั้งกลางเทอมครั้งนี้
ด้วยนโยบายพลังงานที่มีผลต่อหุ้นพลังงาน-ปิโตรเคมี ด้วยพรรครีพับลิกันชูจุดขายในศึกเลือกตั้งปี 2563 สนับสนุนการใช้พลังงานน้ำมัน เป็นจุดยืนที่สวนทางกับพรรคเดโมแครตเน้นนโยบายพลังงานสะอาดด้วยทุ่มงบลงทุน ลดภาษี ให้เงินส่วนลดคืน จากการเพิ่มกำลังผลิตพลังงานทดแทน กลับร่วม Paris Climate Agreement อีกครั้งและการเน้นยานยนต์ไฟฟ้า
ประเด็นดังกล่าวมองได้ว่าเป็นปัจจัยชั่วคราวที่มีผลต่อราคาหุ้นพลังงาน-ปิโตรเคมี เพราะจะรับรู้ข่าวทันที ซึ่งราคาน้ำมันมีปัจจัยนอกเหนือจากสหรัฐเช่น กลุ่มโอเปค รัสเซีย-ยูเครน การคว่ำบาตรของกลุ่มอียูกับรัสเซีย กลายเป็นแค่ปัจจัยลงทุนระยะสั้นสำหรับกลุ่มว่าได้ในช่วงนี้